วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

คณะที่อยากเรียนต่อ :X


คณะเภสัชศาสตร์


คณะเภสัชศาสตร์ หรือ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ (อังกฤษ School of Pharmacy) เป็นสถานศึกษาพื้นฐานในการผลิตเภสัชกร โดยแบ่งเป็นการศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา การศึกษาทางเภสัชศาสตร์โดยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ในหลายประเทศได้จัดหลักสูตรการศึกษาโดยใช้ระยะเวลาการศึกษา 3 - 6 ปี อันประกอบด้วย เภสัชศาสตรบัณฑิต, วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์ หรือในระดับผู้เชี่ยวชาญทางเภสัชกรรม (Doctor of Pharmacy) ภายหลังสำเร็จการศึกษาแล้วในแต่ละประเทศจะมีการจดขึ้นทะเบียนเป็นเภสัชกรแตกต่างกันออกไป
คณะเภสัชศาสตร์ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนับเป็นสถาบันการศึกษาทางเภสัชศาสตร์แห่งแรกที่ได้ยกระดับเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา การศึกษาทางเภสัชศาสตร์โดยส่วนมากได้รับการแบ่งเป็น 2 ระบบ คือ วิทยาศาสตร์เภสัชศาสตร์ และ เภสัชบริบาลศาสตร์ โดยผู้สำเร็จการศึกษาทั้งสองประเภทต้องจดทะเบียนเป็นเภสัชกรเช่นกัน โดยวิทยาศาสตร์เภสัชศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นหลายสาขา เช่น เภสัชภัณฑ์ เภสัชอุตสาหกรรม เภสัชวิทยาเภสัชเวท เภสัชเคมี เภสัชศาสตร์สังคม บริหารเภสัชกิจ และเภสัชบริบาลศาสตร์ยังแบ่งเป็น เภสัชกรรมคลินิก เป็นต้น
ปัจจุบันมีการจัดตั้งคณะและสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ขึ้นหลายแห่งทั่วโลก ทั้งในสถานะเป็นโรงเรียน, วิทยาลัย, สำนักวิชา และคณะ แต่ละแห่งจะมีการจัดระบบการศึกษาแตกต่างกันออกไป

การเรียนการสอน

การศึกษาทางเภสัชศาสตร์มีการจัดหลักสูตรการศึกษาแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ ตั้งแต่ใช้ระยะเวลาศึกษา 3 - 6 ปี ในสถานศึกษาแต่ละแห่งก็มีการจำแนกแผนกวิชา, ภาควิชาออกตามความสะดวกต่อการจัดการเรียนการสอน แต่โดยส่วนมากก็ยังคงประกอบด้วยศาสตร์สำคัญ อันได้แก่ วิทยาศาสตร์เภสัชศาสตร์, เภสัชบริบาลศาสตร์ และเภสัชศาสตร์สังคม อย่างไรก็ดี ก็ยังคงมีการจำแนกตามสาขาวิชา ได้แก่ เภสัชภัณฑ์ เภสัชอุตสาหกรรมเภสัชวิทยา เภสัชเวท เภสัชเคมี เภสัชศาสตร์สังคม บริหารเภสัชกิจ
แต่ละประเทศได้จัดระบบการศึกษาแตกต่างกันไปตามระยะเวลาการศึกษา อันประกอบด้วย ระบบการศึกษา 3 ปี สำเร็จการศึกษาในระดับเภสัชศาสตรบัณฑิต ได้แก่ประเทศเดนมาร์ก, ระบบการศึกษา 4 ปี สำเร็จการศึกษาในระดับเภสัชศาสตร์บัณฑิตหรืออนุปริญญาเภสัชศาสตบัณฑิต ได้แก่ ประเทศแคนาดา, ออสเตรเลีย, กรีซ, ไอร์แลนด์ และนิวซีแลนด์, ระบบการศึกษา 5 ปีในสเปนและการ์ตาร์ และระบบการศึกษา 6 ปี สำเร็จการศึกษาในระดับเภสัชศาสตรบัณฑิตเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเภสัชกรรมในชิลี โปรตุเกส ฝรั่งเศส และประเทศไทย
ในการเรียนการสอนของทุกสถาบันจะประกอบด้วยวิชาพื้นฐานทั้งทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ นอกจากนี้ยังต้องศึกษาในศาสตร์อื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกับเภสัชศาสตร์ด้วย อาทิ กายวิชาภาคศาสตร์ สรีรวิทยา ชีวเคมี และจุลชีววิทยา และในระหว่างการศึกษาสถาบันโดยส่วนใหญ่จะจัดให้มีการฝึกงานทางเภสัชกรรมตามสมควร ภายหลังสำเร็จการศึกษาในแต่ละแห่งอาจศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา อาทิ เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต และ เภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิต

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโร เป็นสถาบันการศึกษาเภสัชศาสตร์ลำดับที่ 9 และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์จังหวัดนครนายก ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 

สาขาวิชา

ชีวเภสัชศาสตร์เป็นการศึกษาพื้นฐานสำหรับวิชาชีพเภสัชกกรมและวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่น
  1. ชีวเคมี
  2. กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา
  3. เภสัชวิทยา
  4. พิษวิทยา
  5. จุลชีววิทยา
  6. พยาธิวิทยา
เทคโนโลยีเภสัชกรรม
เป็นการศึกษาวิทยาการและเทคโนโลยีการผลิตยาในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสำคัญต่ออุตสาหกรรมการผลิตยาในประเทศไทย เตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานในอุตสาหกรรมยา นอกจากนี้นิสิตยังมีโอกาสได้เรียนรู้ศาสตร์แห่งเครื่องสำอางซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ด้วย
เภสัชเคมีและเภสัชเวท
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางเคมีของยากับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของยา การวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ยา การศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพรซึ่งกำลังเป็นที่นิยม ทั้งที่นำมาใช้ทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
เภสัชกรรมคลินิกและเภสัชกรรมสังคม
นิสิตจะได้เรียนรู้การใช้ยาที่เหมาะสมในโรคต่าง ๆ ทั้งยังได้ฝึกทักษะการประเมินปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา แนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหานั้น ๆ รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบยา การคุ้มครองผู้บริโภค และระบบธุรกิจทางยาด้วย

หลักสูตร

ปริญญาตรี

  • หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีเภสัชภัณฑ์ (หลักสูตร 6 ปี)
  • หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาบริบาลทางเภสัชกรรม (หลักสูตร 6 ปี)
  • ปริญญาโท

    • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการองค์กรเภสัชกรรม

ระบบการศึกษา

  1. การศึกษาในสองปีหลังของหลักสูตร (ปีที่ 5 และ 6)
  2. สำหรับรายวิชาทั่วไป ระบบการศึกษาจะเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2543
  3. สำหรับรายวิชาการฝึกปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมจะแบ่งนิสิตออกเป็นกลุ่มหมุนเวียนกันเพื่อฝึกปฏิบัติงานในแต่ละรายวิชาในแหล่งฝึกที่ทางคณะจัดให้




มหาลัยที่เปิดสอนคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (2520- 2524) ตามโครงการพัฒนา สาธารณสุขของประเทศ คณะฯได้ก่อตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษหน้าที่ 1 เล่ม 97 ตอนที่ 197 ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2523 นับเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ แห่งที่ 5 ของประเทศ ถัดจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย โดยถือกำเนิดจาก "โรงเรียนแพทย์ปรุงยา ตามดำริของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นวันสถาปนาวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทยอีกด้วย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดิมเป็นแผนกปรุงยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้รับการพัฒนาหลักสูตรขึ้นเป็นแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้ย้ายสังกัดหลายครั้ง ซึ่งภายหลังได้กลับมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้อาคารเภสัชศาสตร์ ในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบันคือคณะศิลปกรรมศาสตร์) เป็นที่ทำการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2525 ได้ย้ายอาคารมาทำการเรียนการสอน ณ ที่ตั้งปัจจุบัน บริเวณสยามสแควร์ ติดกับคณะทันตแพทยศาสตร์และคณะสัตวแพทยศาสตร์
ปัจจุบัน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีปริญญาโท และปริญญาเอก โดยในระดับปริญญาตรีได้เปิดการเรียนการสอนใน 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม และหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ ทั้ง 2 หลักสูตรใช้ระยะเวลาในการศึกษาทั้งสิ้น 6 ปี โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 7 ภาควิชา และยังมีโครงการแลกเปลี่ยนนิสิตกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ อาทิ โครงการแลกเปลี่ยนนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ-ชิบะ, โครงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิต คณะเภสัชศาสตร์กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาสหราชอาณาจักรญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้น

สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา


สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา เปิดการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2546 ในฐานะ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา และได้แยกตัวมาเป็น สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา ในปี พ.ศ. 2548
ต่อมาในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550 ทางคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา ตั้งแต่ ปีการศึกษา 2550 เป็นต้นไป สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยามีจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ ปี 1 - ปี 6 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา ทั้งหมด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งที่สองของประเทศไทย และเป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกของภาคเหนือ จัดตั้งขึ้นในราวปี พ.ศ. 2509 ในฐานะโรงเรียนเภสัชศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณบดีคณะแพทยศาสตร์


คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตั้งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยนเรศวร บ้านทุ่งหนองอ้อ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เป็นคณะเภสัชศาสตร์ของรัฐคณะที่ 7 จัดตั้งขึ้นเพื่อผลิตเภสัชกร ให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ และเพื่อกระจายเภสัชกรสู่ภาคเหนือตอนล่าง อันเป็นการเพิ่มบุคลากรด้านสาธารณสุขให้แก่ภูมิภาคนี้ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้เกี่ยวกับยาแก่บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย และประชาชนทั่วไป

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อตั้งเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 โดยสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีมติให้จัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพขึ้น เป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย นับเป็นคณะเภสัชศาสตร์ ลำดับที่ 12 ของประเทศไทย และเป็นลำดับที่ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีศาสตราจารย์อาร์เอ็มอี ริชาร์ด(Prof. RME Richards, OBE) ดำรงตำแหน่งรักษาการคณบดีเป็นคนแรก


คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 
เมื่อ พ.ศ. 2485 ได้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้น โดยทางมหาวิทยาลัยได้รับโอนแผนกเภสัชศาสตร์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งเป็น "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" ต่อมา เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ได้มีการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์แห่งขึ้นใหม่ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยใช้ชื่อว่า "คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" ดังนั้น ในช่วงเวลานี้ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตรืจึงประกอบด้วยคณะเภสัชศาสตร์ 2 แห่งด้วยกัน
ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2512 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยมหิดล" รวมทั้ง ได้มีการโอนคณะเภสัชศาสตร์ที่ตั้งอยู่ในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้า สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้ง ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหิดลจึงตัดสร้อยท้ายคำว่า "พญาไท" ออกจาก "คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท" เป็น "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" ดังเช่นปัจจุบัน

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต


คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดดำเนินการสอนหลักสูตรเภสัชศาสตร์ บัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2530 นับเป็นคณะเภสัชศาสตร์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย นอกเหนือจากคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยของรัฐ 6 สถาบันในขณะนั้น โดยมี ศ.(พิเศษ)ภญ.ฉวี บุนนาค เป็นคณบดีคนแรกของคณะ (พ.ศ. 2530-2541) คณบดีท่านต่อมาคือ ศ.ภญ.ดร.สสี ปันยารชุน (พ.ศ. 2541-2545) และรศ.ภญ.ดร.อรพรรณ มาตังคสมบัติ (พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน)
โดยนักศึกษาจะศึกษาเพื่อการเป็นเภสัชกรในช่วง 4 ปีแรกของหลักสูตร และศึกษากระบวนวิชาทางเลือก ให้มีความรู้และทักษะเฉพาะทาง ตลอดจนฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในทางเลือกในชั้นปีที่ 5 ต่อมาได้มีการปรับปรุงหลักสูตรอีก 3 ครั้ง คือ หลักสูตรเภสัชศาสตร์ปีการศึกษา 2542 ประกอบด้วย 232 หน่วยกิต (ไตรภาค) หลักสูตรเภสัชศาสตร์ ปีการศึกษา 2544 ประกอบด้วย 186 หน่วยกิต (ทวิภาค) และหลักสูตรเภสัชศาสตร์ ปีการศึกษา 2546 ในปีการศึกษา 2545 คณะเภสัชศาสตร์ได้รับอนุมัติให้เปิดหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์ขึ้นอีก 1 หลักสูตร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ผลิตเภสัชกรรุ่นแรกออกไปในปี 2535 จำนวน 41 คน จนถึงปัจจุบันได้ผลิตเภสัชกรไปแล้วรวม 18 รุ่น

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นสถาบันการศึกษาเภสัชศาสตร์ลำดับที่ 9 และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จังหวัดนครนายก ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535


คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เป็นคณะเภสัชศาสตร์ลำดับที่ 6 ของประเทศไทย พัฒนาขึ้นจากโครงการวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาเภสัชศาสตร์ โดยมีฐานะเป็นภาควิชาหนึ่งของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อันเป็นโครงการเพิ่มจำนวนเภสัชกรในพื้นที่ภาคตะวันตกที่ยังขาดแคลน ต่อมาทางมหาวิทยาลัยได้มีบันทึกการพัฒนาสาขาเภสัชศาสตร์ จัดตั้งขึ้นในฐานะคณะ จนกระทั่งวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2526 ทางมหาวิทยาลัยจึงแต่งตั้งคณะกรรมการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ขึ้น จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เภสัชกรรศ.ภก.ดร.ประโชติ เปล่งวิทยา ได้รับอนุมัติให้โอนราชการจาก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาสังกัดคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้รับการแต่งตั้งดำรงตำแหน่งคณบดีในวันเดียวกัน


คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์



คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 110/5 หมู่ 3 ถนน กาญจนวนิช ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นับเป็นสถาบันการศึกษาขั้นสูงในสาขาเภสัชศาสตร์ ที่ดำเนินการเปิดสอนในระดับปริญญาตรีขึ้นไป เป็นแห่งแรกในภาคใต้ โดยเริ่มจัดตั้งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามการอนุมัติของรัฐบาลใน พ.ศ. 2515 คณะเภสัชศาสตร์ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา และสภามหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.ดร. สุนาลินี นิโครธานนท์ เป็นคณบดีคนแรก เริ่มเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกตามหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต เมื่อปีการศึกษา 2522 จำนวน 19 คน โดยนักศึกษาในรุ่นแรกนี้ เป็นนักศึกษาที่รับจากการสอบตรงทั้งหมด นับถึงปีการศึกษา 2551 คณะฯ ได้รับนักศึกษามาแล้ว 30 รุ่น และได้ผลิตเภสัชกรออกไปทำงานรับใช้สังคมประมาณ 3,000 คน

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม


คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เป็นคณะเภสัชศาสตร์คณะที่ 13 ของประเทศไทย เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งที่ 3 ของมหาวิทยาลัยเอกชน แต่เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกของมหาวิทยาลัยเอกชนที่เป็นหลักสูตร 6 ปี จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างเภสัชกร ที่มีทักษะการปฏิบัติงานด้านบริบาลทางเภสัชกรรม ได้รับการจัดตั้งเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2536 ดำเนินการสอนหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตเพื่อผลิตบัณฑิตทางเภสัชศาสตร์ให้มี คุณภาพตามมาตรฐานสากล เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศที่ ยังขาดเภสัชกร บัณฑิตคณะเภสัชศาสตร์จะเป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้ และใฝ่ศึกษาด้วยตนเอง สามารถแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาวิชาการด้านเภสัชศาสตร์เป็นผู้ที่มี ความรอบรู้เรื่องยาในทุกด้าน ได้แก่ การผลิตยา การจ่ายยา ติดตามและแนะนำการใช้ยาการบริหารและการจ่ายยา เป็นต้น สามารถให้บริการแก่สังคมในสายวิชาชีพเภสัชกรรม และการสาธารณาสุขให้มีประสิทธิผลทางด้านสุขภาพและอนามัยต่อชุมชนทั้งในเมือง และชนบท โดยยึดมั่นในจรรยาแห่งวิชาชีพ มีมนุษย์สัมพันธ์ และเจตคติที่ดีต่อสังคม


คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นคณะเภสัชศาสตร์ของรัฐ ลำดับที่ 8 และเป็นคณะวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Sciences) คณะแรกของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537 โดยมีวัตถุประสงค์ในการผลิตเภสัชกรเพื่อ ตอบสนองความต้องการของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะเภสัชศาสตร์ได้ปฏิบัติภารกิจสำคัญในการจัดการศึกษาและดำเนินงานวิจัยด้าน เภสัชศาสตร์มานานกว่าทศวรรษ โดยในช่วงปีแรกๆของการสถาปนา คณะเภสัชศาสตร์ รับนักศึกษาปีละประมาณ 40 คน ปัจจุบันจำนวนนักศึกษาเพิ่มเป็น 130 คนต่อปี ในปีการศึกษา 2548 มีจำนวนนักศึกษาทั้งสิ้น 504 คน และมีบัณฑิตสำเร็จการศึกษาไปแล้วรวมทั้งสิ้น 3 12 คน บัณฑิตเภสัชศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาจะต้อง สอบความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม จากสภาเภสัชกรรม จึงจะสามารถประกอบวิชาชีพได้โดยสมบูรณ์


คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย


คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ



สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เปิดทำการสอนใน หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต เป็นปีแรกในปีการศึกษา 2550 โดยมุ่งผลิตเภสัชกรที่มีคุณธรรม มีความสามารถ และมีทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมของประเทศ และของสากล โดยเน้นองค์ความรู้เรื่องยา ที่สามารถประยุกต์ในการส่งเสริม ป้องกัน และรักษาสุขภาพของชุมชนและประชาชน
ปัญหาการใช้ยาเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในระดับชุมชน ระดับประเทศ และระดับโลก ที่จะต้องอาศัยผู้รู้ ผู้มีความสามารถ มีทักษะในการทำงานเป็นทีมร่วมกับวิชาชีพสุขภาพอื่นๆ เพื่อให้ประชาชนทุกระดับได้ใช้ยาอย่างเหมาะสมและพอเพียง

















Apple iPhone 4S - แอปเปิ้ล iPhone 4S


Apple iPhone 4S

ขนาด : 115.2 x 58.6 x 9.3 มิลลิเมตร
น้ำหนัก 140 กรัม
Apple iPhone 4S
Apple iPhone 4S

* [ โปรดอ่าน ]
- Preliminary information -
Apple
ข้อมูลเครือข่าย (Network)
ข้อมูลตัวเครื่อง

Apple iPhone 4S
 
ระบบปฏิบัติการ (OS, CPU)
ระบบเชื่อมต่อ
ใช้งานอินเตอร์เน็ต
รับ-ส่งข้อความ (Messaging)

Apple iPhone 4S
ฟังก์ชั่นมัลติมีเดีย
แอพพลิเคชั่นมาตรฐาน
การโทร และ ฟังก์ชั่นพื้นฐาน
การใช้งานของแบตเตอรี่